การตรวจดูการทำงานของรังไข่ ANTI-MULLERIAN HORMONE (AMH)

การตรวจ Anti-Mullerian Hormone (AMH) คืออะไร

เนื่องจากผู้หญิงเกิดมาด้วยจำนวนไข่ที่จำกัด 1-2 ล้านใบ และฝ่อหายไปเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างกับผู้ชายที่ตัวอสุจิสามารถผลิตใหม่ได้ พอเข้าสู่ช่วงมีรอบเดือน (Puberty) ผู้หญิงจะเหลือไข่ในรังไข่ ประมาณ 400,000 – 500,000 ใบ และเหลือน้อยกว่า 1,000 ใบ เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

อัตราการลดลงของไข่ในผู้หญิงแต่ละคน เร็ว-ช้าไม่เท่ากัน ดังนั้นการตรวจประเมินจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ จะช่วยวางแผนการมีบุตรได้ อายุที่เหมาะสมในการตรวจ เริ่มตรวจได้ที่อายุ 25-30 ปี

AMH ย่อมาจาก Anti-Mullerian Hormone สามาราถตรวจได้โดยการเจาะเลือด และตรวจในวันไหนก็ได้ของรอบเดือน AMH จะช่วยบอกปริมาณไข่ (Ovarian reserve) ที่เหลืออยู่ในรังไข่โดยอาจพตรวจ AMH ร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ดูไข่ในรังไข่ หรือ AFC (Antral Follicle Count) เพื่อช่วยวางแผนการมีบุตรรวมถึงการฟรีซไข่เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้นได้

ค่า AMH เท่าไหร่ถึงจะดี

  • AMH อยู่ในช่วง 1 – 4 ng/mL (ปกติ) เป็นค่า ที่เหมาะสมของฮอร์โมน
  • AMH อยู่ในช่วง 0.3 – 1 ng/mL (ค่อนข้างต่ำ) เป็นช่วงค่าฮอร์โมนที่อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยาก
  • AMH น้อยกว่า 0.3 ng/m> (ต่ำ) เป็นช่วงที่บ่งบอกได้ถึงปริมาณไข่ที่เหลืออยู่น้อย ความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี การตรวจ AMH เป็นการบอก จำนวนไข่เชิงปริมาณ (Quantitative) ไม่ใช่คุณภาพ (Quantitative) จึงไม่สามารถนำผล AMH มาบอกโฮกาสของการตั้งครรภ์จากการรักษาได้ ปัจจุบันอายุของฝ่ายหญิง ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญในการอ้างอิงถึงคุณภาพไข่อยู่