ให้คำปรึกษาคู่สมรสก่อนแต่งงานและก่อนการมีบุตร เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมสร้างครอบครัว ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสังคม เป็นสังคมแรกและเป็นสังคมหลักของเด็กในอนาคต ทางคลินิกนวบุตร ให้บริการการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ การตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย (THALASSEMIA) ตรวจคัดกรองโรคต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตร การวางแผนการมีบุตรและการคุมกำเนิดที่เหมาะสม การเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนการมีบุตร การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ
การเตรียมตัวก่อนมีบุตร
ควรมีการตรวจประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย และมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต หรือ LIFE STYLE ให้เหมาะสม
การงดบุหรี่ หรือ แอลกอฮอล์ / คาเฟอีน จำเป็นต้องรู้บุหรี่และแอลกอฮอล์นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว บุหรี่และแอลกอฮอล์ อาจส่งผลต่อลูกน้อยและอาจทำให้มีการคลอดก่อนกำหนดได้
- ควรจำกัดปริมาณ caffeine ให้น้อยกว่า 200 mg/วัน หรือปริมาณ กาแฟ 1-2 แก้ว/วัน
การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต Life style
- ถ้ามีโรคประจำตัวหรือยาที่ต้องใช้เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาให้เหมาะสมต่อการเตรียมการตั้งครรภ์
- ทาน Folic acid อย่างน้อย 400 mg/วัน ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลเรื่องน้ำหนักให้เหมาะสมให้ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (BMI 18.5-24.9 kg/m2)
- ออกกำลังกาย Moderate exercise (รู้สึกเหนื่อย แต่ยังพูดประโยคสั้นๆได้) อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
- ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชม.
การตรวจประเมินทางห้องปฏิบัติการ(Lab)
สำหรับฝ่ายหญิง
การนัดพบแพทย์ครั้งแรกสำหรับฝ่ายหญิง จะนัดหมาย ในวันที่ 1 – 3 ของรอบเดือน เพื่อให้แพทย์คัดกรองประวัติเพื่อตรวจ
- ตรวจดูการทำงานของรังไข่ E2, FSH, LH, Prolactin
- ตรวจพาหะธาลัสซีเมีย (Thalassemia)(Hemoglobin Typing)
- ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- หมู่เลือด (ABO Blood Group) และ RH
- ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis Bvirus)
- การติดเชื้อซิฟิลิส (Syphilis)
- เชื้อเอชไอวี (Anti-HIV)
- การตรวจ AMH ร่วมกับการตรวจภายในและ Ultrasound ในฝ่ายหญิง
สำหรับฝ่ายชาย
- ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม (Hemoglobin Typing)
- การติดเชื้อซิฟิลิส (Syphilis)
- เชื้อเอชไอวี (Anti-HIV)
- ตรวจคุณภาพน้ำเชื้ออสุจิ (Semen Analysis)
การเตรียมตัวเพื่อตรวจวิเคราะห์เชื้ออสุจิ
- งดหลั่งอสุจิ 3-5 วัน ไม่ควรเกิน 7 วัน
- งดเหล้า-บุหรี่ สิ่งเสพติดทุกชนิด หากเลี่ยงไม่ได้ควรลดปริมาณลง
- ไม่แนะนำให้ทานยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบทุกชนิด
- นอนพักผ่อนเพียงพออย่างน้อย 8 ชม.
หมายเหตุ : หากมีผลตรวจเลือดเดิมจากโรงพยาบาล ไม่เกิน 6 เดือน สามารถนำมาเพื่อประกอบการรักษาและพิจารณาร่วมกันได้